Data & AI Governance Workshop 2022 ประเทศไทยขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนา AI อย่างไร

Data & AI Governance Workshop 2022 
ประเทศไทยขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนา AI อย่างไร

ผมมีโอกาสได้เข้าร่วม Data & AI governance workshop 2022 ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.)หรือ Electronic Transactions Development Agency เรียกสั้นๆ ว่า ETDA (เอ็ตด้า) ร่วมกับ Digital Asia Hub Thailand พร้อมได้รับเกียรติจาก Dr. Urs Gasser, Dean, School of Social Sciences and Technology, Technical University of Munich มาร่วมเป็น Moderator ด้วย โดยภาพรวมงานนี้จะพูดถึง AI Ethics and Governance ในมุมมองของประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้ง สหภาพยุโรป (EU) สหรัฐอเมริกา (USA) และละตินอเมริกา (Latin America) อย่างโคลัมเบีย โดยแบ่งเป็น 4 Session ได้แก่

  • ✅ Thailand National AI Strategy: Ethics and Governance Issues

  • ✅ AI & Data Governance: International Perspectives

  • ✅ Data & AI Policy Clinic Initiative

  • ✅ Data & AI Clinic: Knowledge Exchange (US, EU, Latin America)

session แรก

🎯 Thailand National AI Strategy: Ethics and Governance Issues

ETDA กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทยเป็น Innovative strategy เป็นหลัก ซึ่งเน้นให้เกิดการพัฒนา AI และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยจะโฟกัสที่จริยธรรมในการพัฒนา AI มากกว่าที่จะกำหนดบทลงโทษ และเน้นย้ำเรื่อง Human-centered AI ซึ่งหมายถึง AI ที่ไม่เบียดเบียนมนุษย์ เนื่องจากในสังคมปัจจุบันมีการพูดถึง AI ในแง่การทำงานที่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ EDTA จึงอยากจะเน้นย้ำและนำเสนอเรื่องนี้ว่า ภาครัฐควรจะส่งเสริมการพัฒนา AI ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ มากกว่าการมีมุมมองว่า AI ที่จะมาทำงานทดแทนมนุษย์

ตอนนี้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ด้าน AI ปี 2565-2570 แล้ว กล่าวโดยสรุป คือ

  1. วางมาตรฐาน กฎระเบียบ เน้นส่งเสริม ไม่ลงโทษ
  2. มีการใช้ AI มากขึ้น โดยตอนนี้มี sector ที่ใช้ AI เยอะขึ้น ได้แก่ Healthcare, Finance, Government service
  3. สร้างบุคลากรในระดับอุดมศึกษา 30,000 คน
  4. สร้างและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมต้นแบบ 100 Prototype
  5. การนำไปใช้งานและสร้างมูลค่ามากกว่า 60,000 ล้านบาท

✅ AI & Data Governance: International Perspectives

ใน session นี้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองว่า ในหลายประเทศพิจารณา และศึกษากฎหมายทาง AI ethics ของ EU เนื่องจาก EU ให้ความสำคัญกับด้าน AI ethics เป็นอย่างมากทั้งยังเข้มงวดมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของ USA ที่ส่วนมากจะเป็น Hands on Approach พร้อมให้ข้อมูลว่า ด้านการพัฒนา AI นั้น มีการเติบโตค่อนข้างสูง ทั้งในด้านปริมาณการตีพิมพ์วารสาร และปริมาณเงินในการลงทุนกับ AI โดย sector ที่มีการใช้ AI จำนวนมากขึ้น ได้แก่ Healthcare, Finance, Government services เช่นเดียวกันกับบ้านเรา1666233879042.jpg

สำหรับด้านนโยบายนั้น EU จะเป็น Precautious strategy ซึ่งเน้นควบคุมดูแลเข้มงวดทุกระเบียบ ผ่านการออกกฎหมาย EU Artificial intelligent Act เป็น Horizontal regulation และมี Vertical regulation ตาม sector เช่น Healthcare, Finance และจะเน้นสิทธิขั้นพื้นฐาน (Fundamental right) ของประชาชนมากกว่า Innovation 1666234288063.jpg

แตกต่างจากฝั่ง USA ที่จะเน้นใช้ Innovative strategy ซึ่งจะไม่มีการออกกฎหมายควบคุม AI แต่จะมีเพียง Vertical regulation ของแต่ละ sector แทน เช่น FDA: Regulatory framework (2019)

Horizontal regulation หรือ บังคับแนวระนาบ เป็นการบังคับใช้กฎเป็นการทั่วไป ทุกคนต้องถูกบังคับด้วยกฎ นั้น ส่วน Vertical regulation หรือ บังคับแนวดิ่ง เป็นการบังคับใช้กฎเป็นการเฉพาะ กฎนั้นจะถูกใช้บังคับสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น

image.png

✅ Data & AI Policy Clinic Initiative

ใน Session นี้ มีการเเลกเปลี่ยนมุมอง AI Framework ของประเทศไทยที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และดูว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับต่างชาติมากน้อยเพียงใด

เริ่มต้นจากภาครัฐ

DGA ให้ข้อมูลว่า Sector ใหญ่ ๆ ที่มีการดำเนินการด้าน AI ส่วนมากจะเป็น Health, Government และ Finance พร้อมให้ข้อมูลว่า สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) หรือ DGA ได้จัดตั้งศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ (AI Government Center, AIGC) ที่สามารถให้คำปรึกษากับหน่วยงานที่สนใจพัฒนา AI เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้วย

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ได้ทำเรื่อง AI Ethic เพื่อขยายความเป็น 8 ข้อ ว่า ทุกโครงการที่ทำกับสวทช. ต้องผ่านตากรรมการ พร้อมตั้งกฎ (rules) จำนวน 38 ข้อ แบ่งออกเป็น 1.Lab Prototype 2.Field test prototype 3.Industrial prototype/ commercial ซึ่งต้อง train AI ไม่ให้มีอคติ (bias) ร่วม

สำหรับเรื่องจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก Thailand AI Ethics Guideline จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม onde.go.th/assets/portals/1/files/Thailand%..

และด้วยความต้องการที่จะสนับสนุนให้นำ AI มาช่วยและใช้ประโยชน์

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center : NECTEC)

ได้สร้างความร่วมมือกับภาคการศึกษา ภาคเอกชน จำนวนมาก และเนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญ (expert) มากนัก เบื้องต้นจึงเน้นการใช้งานแบบเร่งด่วนไปก่อน จึงจะเห็นได้ว่า ช่วงเริ่มต้น AI ส่วนใหญ่ภาครัฐจะเริ่มทำจาก Chatbot แต่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง และแยกกันทำในแต่ละหน่วยงาน จนนำไปสู่คำถามจำนวนมากกว่า Chatbot ดังกล่าวนั้น ตอบโจทย์ปัญหาที่แท้จริงหรือไม่ ทำให้ DGA ได้ดำเนินการสร้าง Chatbot platform กลาง เพื่อให้นักพัฒนาหรือผู้ใช้งานได้เข้ามาทดลองใช้ก่อน นอกจากนี้ ยังมีการอบรมให้ความรู้ด้าน Design Thinking ว่า AI สามารถช่วยงานในเรื่องใดบ้าง ส่วนเรื่อง Data Governance ยังคงเป็น phase ในการให้ความรู้ต่อไป

มุมมองผ่านงานวิจัยของ นายแพทย์ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลราชวิถี

ได้ร่วมพัฒนา AI detect เบาหวานจากตา โดยเริ่มจากปัญหาที่ว่า ประชากรไทยเป็นเบาหวานประมาณ 4-5 ล้านคน แต่ประเทศไทยมีจักษุแพทย์เพียง 1,500 คน และคนไข้เบาหวานจำเป็นต้องตรวจจอประสาทตาปีละ 1 ครั้ง หากไม่ตรวจอาจส่งผลให้คนไข้มีโอกาสตาบอดได้ และเนื่องจาก 90% ของคนไข้เบาหวานไม่ได้อาศัยอยู่ที่เขตกรุงเทพฯ ในทางกลับกันจักษุแพทย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ และทำงานในเขตกรุงเทพฯ เป็นส่วนมากทำให้ต้องอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (สาธารณสุขจังหวัด) พยาบาล ช่างภาพ ที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้อ่านภาพคนไข้เเทน และจากข้อมูลพบว่า มีคนไข้เบาหวานทั่วประเทศ 50% ที่สามารถเข้าถึงการคัดกรองเบื้องต้นนี้ได้

นอกจากนี้ จากข้อมูลยังพบว่า ภาพจอประสาทตาของคนไข้เบาหวานที่นำไป Train นั้น AI สามารถแยกระดับความรุนแรงของเบาหวานได้ และเมื่อนำมาทดสอบพร้อมตรวจสอบ กลับยิ่งค้นพบว่า กรณีอบรมให้เจ้าหน้าที่ จะมีความแม่นยำประมาณ 80% แต่ถ้าเราใช้ AI ในการคัดกรองภาพจะมีความแม่นยำถึง 90% ทั้ง AI ยังสามารถอ่านค่าได้เร็ว 90% ส่วนหมออ่านค่าได้เร็ว 80% อย่างไรก็ตาม ถ้าจะนำใช้งานจริงอาจต้องติดตามผลหลังจากการคัดกรอง และตรวจคนไข้แล้วเสร็จ คนไข้ได้ไปพบหมอต่อหรือไม่ เพราะจากข้อมูลพบว่า คนไข้ไปพบหมอเพียง 50% (ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ว่า ต้องเกิน 60%) จึงต้องพิจารณาการนำมาปรับใช้ว่า จะสามารถดำเนินการอย่างไรต่อไป เช่น อาจให้จักษุแพทย์ช่วยอ่าน และยืนยันผลให้ก่อนส่งคนไข้เพื่อเป็นการคอนเฟิร์มเคส เป็นต้น และในอนาคตคาดว่า จะมีการทำวิจัยเพิ่มเติมเรื่องคนไข้ที่ได้รับการคัดกรองจาก AI แล้วจะไปพบหมอมากน้อยเพียงใด มีจำนวนคนไข้ได้รับการคัดกรองมากขึ้นเท่าไร มี Downtime เท่าไร การใช้พร้อมกันทั้งประเทศมีผลอย่างไร (เรียกได้ว่า ปัจจุบันอยู่ในเฟส Implementation และ deployment) พร้อมทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันทางการแพทย์ โดยเฉพาะจักษุแพทย์ เรื่อง เบาหวานเข้าจอตานั้นมีความก้าวหน้าค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับสาขาอื่น ๆ

1667377594915.jpg

และมีคำถามว่า จากข้อมูล พบว่า AI มีความแม่นยำ 95% แล้ว 5% ที่ไม่ accurate นั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดต่อตัวคนไข้?

นายแพทย์ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ให้คำตอบว่า ปัจจุบันเราใช้ AI ในการคัดกรอง จากแต่ก่อนอบรมบุคลากรจำนวนมาก และความแม่นยำก็น้อยกว่า และเพราะการคัดกรองไม่ใช่การวินิจฉัย ดังนั้น ไม่ว่าอย่างไรต้องมีการไปพบจักษุแพทย์ต่ออยู่แล้ว หากพบความผิดปกติตอนคัดกรอง และมีความเป็นไปได้น้อยที่คนไข้เบาหวานไม่มาตรวจเพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง

Thailand AI Ethics Guideline (White paper) Edit Version_page-0010.jpg

ที่มา AI Ethics Guidline By MDES onde.go.th/assets/portals/1/files/Thailand%..

ภาคสาธาณสุข

AI ทางการแพทย์ถือเป็นเครื่องมือแพทย์และตามกฏหมาย จำเป็นต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยา (อย.) และต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเป็นหลักฐานด้วย พร้อมแจ้งว่า ภายหลังที่มีการบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Act) ส่งผลให้ต้องขอความยินยอมในการนำข้อมูลไปใช้ทุกราย ซึ่งอาจเป็นปัญหาในอนาคตได้ เพราะบางข้อมูลที่นำมาพัฒนา AI ไม่อาจ de-identified ได้ รวมถึงแนวคิดเรื่องการรวมศูนย์ การลงทุน Infrastructure ว่า ควรดำเนินไปในทิศทางใด และประเด็น Outsource ที่ว่า เมื่อพัฒนา AI ไประยะหนึ่งความรู้ความสามารถนั้นจำกัดอยู่ที่ผู้พัฒนา (คนทำ) ซึ่งถ้ากรณีความรู้ซึ่งถือเป็นคลังสมอง (brain) อยู่ต่างประเทศ แล้วประเทศไทยโดนคว่ำบาตร (sanction) จะต้องดำเนินการอย่างไร ดังนั้น ก็ถือเป็นประเด็นที่จำเป็นที่ควรนำไปพิจารณาประกอบด้วย

ในการพัฒนา AI ขึ้นมาหนึ่งชิ้นนั้น หากร่วมกันพิจารณาว่า เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ ก็เห็นด้วยให้เกิดการพัฒนา ส่วนเรื่องจริยธรรมใน AI นั้นถือว่า ยังเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข แม้แต่ EU ที่ประกาศกฎหมาย กฎระเบียบออกมาก็ยังมีปัญหา ส่วน USA นั้นแทบจะไม่ออกกฏหมายอะไรให้ใช้กฎหมายเดิมไปก่อน เพื่อให้เกิดการพัฒนา ส่วนประเทศไทยยังอยู่ระหว่างช่วงเริ่มต้น ทำให้เราพิจารณารอบด้านทั้งจากเพื่อนบ้านอย่างจีน รวมถึงไปศึกษากรอบของ EU และ USA ด้วย แต่อาจต้องมาชั่งน้ำหนักความสำคัญ พร้อมต้องรับฟังความเห็นจากคนในประเทศเพื่อนำไปสร้างกรอบที่เหมาะสมของประเทศต่อไป

นายแพทย์ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข เสนอว่า สำหรับทางการแพทย์ขอให้เอาปัญหาสาธารณสุขของประเทศเป็นที่ตั้ง โดยไม่เน้นเอา AI concept ว่า มีขีดความสามารถในการทำอะไรเป็นที่ตั้ง เหมือนกรณีปัญหาเบาหวานขึ้นจอตา เพื่อให้นำมาแก้ไขปัญหาได้จริง ทั้งยังมองว่าการพัฒนา AI คือการร่วมมือที่แท้จริง (Collaboration) เพราะการพัฒนา AI นั้น อาศัยข้อมูลจำนวนมาก และการดำเนินการลักษณะนี้ไม่สามารถกระทำได้เพียงลำพัง จึงต้องอาศัยองคาพยพจากหลากหลายภาคส่วน

ภาคการศึกษา

สำหรับมหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL University) ได้มีความร่วมมือกับภาคการศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนา AI ที่ได้ cost efficient เรียกได้ว่า "ผนึกกำลัง" เพื่อสร้างหลักสูตรร่วมกันในหลากหลายสถาบัน ทั้งนี้ มองว่า เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจน จึงอาจต้องหารือกันว่า จะทำอย่างไรให้กฎหมายไม่เป็นภาระ หรือเป็นอุปสรรคในการสร้างความเชื่อมั่น (Trust) และมองให้เป็นเรื่องปกติ รวมถึงการมีจริยธรรมด้วย พร้อมชี้ให้เห็นว่า เรื่อง AI Ethics เป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก (สังเกตได้จากการมีบทความวิจัย (paper) ที่ตีพิพม์เรื่องนี้ออกมาอย่างหลากหลายและกว้างขวางจำนวนมาก)

ส่วน ETDA

อาจต้องพยายามหาวิธีการกำกับดูแล AI ของประเทศต่อไป ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบของกฎหมาย หรือมาตรฐาน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็จำเป็นจะต้องขอรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน

✅ Data & AI Clinic: Knowledge Exchange (US, EU, Latin America)

ใน Session นี้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ทางคลินิกรวมถึงแผนพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ของฝั่งละตินอเมริกา วิทยากรแนะนำว่า ในช่วงแรกการเริ่มต้นสร้าง Framework ของประเทศนั้น สามารถมี Sandbox เพื่อเป็น comfort zone หรือ safe space สำหรับบริษัทให้มาทดลองไอเดีย หรือทดสอบ Innovation, product service, business model etc., โดยภาครัฐก็จะได้ลองพิจารณาด้วยว่า หากปราศจากกฎหรือระเบียบใด ๆ แล้วการพัฒนา AI จะก้าวหน้าไปถึงลักษณะไหน รวมถึงหากมีการตั้งกฎระเบียบใน sandbox จะมีความก้าวหน้าถึงระดับใด โดยสรุปแล้วประเทศไทยก็อาจจะมองกรอบ sandbox นำเข้ามาเป็นแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาแนวทางของประเทศได้

ศิริราชฯ เองก็หวังว่า ในอนาคตข้างหน้าเราจะสามารถดำเนินการตามแผนยุทธ์ศาสตร์ที่สอดคล้องตามบริบทของประเทศได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น

สำหรับใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือเข้าไปฟังคลิปวิดีโอสามารถดูย้อนหลังได้ที่ FB : ETDA Thailand ลงวันที่ 22-23 กันยายน 2565

ผู้เขียน

นายแพทย์เปี่ยมบุญ ธมโชติพงศ์

นางสาวศศินา เถียรพรมราช

ตรวจทาน

ศศินิภา อุทัยสอาด